messager
 
เทศบาลตำบลนาจาน call ข้อมูลการติดต่อ

เทศบาลตำบล
นาจาน
อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลนาจาน อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
check_circle ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อ หารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ๆ
อัตราภาษีป้าย
ภาษีป้ายแบ่งเป็นประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ก. ป้ายที่มีข้อความเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็น ข้อความอื่นได้ อัตรา 10 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ข. ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 5 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น ก. ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย ภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความเครื่องหมายหรือภาพอื่นได้ อัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ข. ป้ายนอกจาก (ก) อัตรา 26 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ประเภทที่ 3 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพ หรือเครื่องหมายใด ๆ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ก. ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ข. ป้ายนอกจาก (ก) อัตรา 50 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
1.เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ แสดงรายการเพื่อเสียภาษี (แบบ ภ.ป.1) ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี หากติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลง ข้อความในป้าย ต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความใหม่ 2.หากเจ้าของป้ายได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (แบบ ภ.ป.3) ให้ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน 3.ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระเกิน 3000 บาท สามารถ ผ่อนชำระได้ 3 งวด งวดละ เท่า ๆ กัน
อัตราโทษและค่าปรับ
1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ ายภายใน เดือนมีนาคม หรือ หลังติดตั้งป้ าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี 2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทา ให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพมิ่ 10 % ของค่าภาษีที่ประเมิน เพิ่มเติม 3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการ แจ้งการประเมิน เสียเงินเพิ่ม 2 % ต่อเดือน ของค่าภาษี เศษ ของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้กฎหมาย วันที่ 13 มีนาคม 2562 และจะเริ่มจัดเก็บภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เป็นภาษี ประเภทใหม่ ที่จะนำมาใช้ในการจัดเก็บแทนภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่เทศบาลได้ทำการจัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน
ความหมายของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดิน หมายถึง พื้นที่ดิน พื้นที่ที่เป็นภูเขาและพื้นที่มีน้ำ สิ่งปลูกสร้าง หมายถึง โรงเรือน อาคาร ตึก หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม และห้องชุดหรือแพ ที่ใช้อยู่อาศัยหรือมีไว้เพื่อหาผลประโยชน์
ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1) เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2) เจ้าของอาคารชุด 3) ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จัดเก็บภาษี แบ่งเป็น 4 ประเภท
1.ที่ดินทำเกษตรกรรม 2.ที่อยู่อาศัย 3.สิ่งปลูกสร้างที่เป็นประกอบ การพาณิชยกรรม(ร้านค้าต่างๆ) 4.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์
ฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. ที่ดิน >>ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดิน 2. ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้าง >>ให้ใช้ ราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดิน และราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้าง รวมกัน 3. ห้องชุด >>ให้ใช้ ราคาประเมินห้องชุด
เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
เบี้ยปรับ คือ ค่าปรับที่เกิดจากการไม่ชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งแบ่งกรณีได้ดังนี้ 1. ไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่มาชำระก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีค้างชำระ 2. ไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่มาชำระตามวันเวลาที่หนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีค้างชำระ 3. เมื่อครบกำหนดตามหนังสือแจ้งเตือน แต่ไม่มาชำระภาษี เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีค้างชำระ เงินเพิ่ม คือ ดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระภาษีล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด โดยจะเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 % ต่อเดือน ของค่าภาษีที่ค้างชำระ (เศษของหนึ่งเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน)
กิจการที่ต้องต้องควบคุมตาม พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
อาศัยอำนาจตาม พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 และอาศัยอำนาจตาม พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 ได้ตราเทศบัญญัติเพื่อเป็นกิจการที่ต้องควบคุม ดังต่อไปนี้ 1.การควบคุมกิจการที่น่ารังเกียจหือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2557 2.การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2562 3.การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ.2561 4.การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2562 5.การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.2562 6.การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ.2562
เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2.สำเนาทะเบียนบ้าน 3.ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการก่อสร้างอาคาร 4.เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต
อัตราโทษและค่าปรับ
1.ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามเทศบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับ 3 พ.ศ.2560

× เทศบาลตำบลนาจาน